สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 12-18 มิถุนายน 2563

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,897 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,895 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,092 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,099 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,150 บาท ราคาลดลงจากตันละ 33,690 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.60
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,095 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,755 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,113 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,557 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.61 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 802 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 528 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,276 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,425 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 149 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 506 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,598 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 112 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 535 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,492 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 119 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.8267
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
คาดส่งออกข้าวปีนี้ไม่เกิน 6.4 ล้านตัน พิษบาทแข็ง-ปิดประเทศกันโควิด-19
นายชูเกียรติ  โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า การยกเลิกเคอร์ฟิวและทยอยปลดล็อกธุรกิจถือว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภคและการท่องเที่ยวในประเทศ แต่ในส่วนของภาคธุรกิจและการส่งออกยังไม่ฟื้นตัวได้ทันที เนื่องจากการส่งมอบสินค้าและการเคลื่อนย้ายยังไม่สะดวกเหมือนปกติ จากการที่หลายประเทศ
ยังปิดประเทศและการกระจายสินค้ายังไม่เต็มที่ รวมถึงขั้นตอนและค่าใช้จ่ายสูงขึ้น สำหรับสถานการณ์ส่งออกข้าวไทยช่วงครึ่งหลังปี 2563 ยังมีปัจจัยกดดันเป้าหมาย 7.5 ล้านตัน โดยเดือนกรกฎาคมนี้ สมาคมฯ จะทบทวนและอาจปรับเป้าหมายเหลือ 6.0-6.4 ล้านตัน เนื่องจากเป้าหมาย 7.5 ล้านตัน ต้องส่งออกเฉลี่ยเดือนละ 6.2 แสนตัน แต่พบว่า 5 เดือนแรกของปี ส่งออกรวมต่ำกว่าเป้า 1 ล้านตัน ดังนั้น ครึ่งปีหลังต้องส่งออกเฉลี่ย 7 แสนตันต่อเดือน ซึ่งมีโอกาสน้อย และมีโอกาสเฉลี่ยเดือนละ 5.0-5.5 แสนตันเท่านั้น เพราะยังติดในเรื่องกำลังซื้อที่ลดลงของประเทศนำเข้าจากที่ประสบวิกฤตโควิดระบาด และผู้นำเข้าไปเจรจาซื้อข้าวจากประเทศที่ราคาถูกกว่าไทย ซึ่งไทยประสบปัญหาต้นทุนราคาข้าวในประเทศสูงจากภัยแล้ง ผลผลิตน้อยกว่าปกติ และค่าเงินบาทแข็งค่ามากเมื่อเทียบกับประเทศผู้ส่งออกอื่น  อาทิ ราคาข้าวไทยสูงกว่าเวียดนามตันละ 50-60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ที่ผ่านมาไทยไม่ชนะประมูลการขายข้าวให้ฟิลิปปินส์
“อีกตัวแปรสำคัญคือ ฝนชุกอาจทำให้ต้นทุนข้าวในประเทศลดลง เมื่อต้นทุนลดลงอาจชดเชยเงินบาทที่แข็งค่าได้ และอาจเป็นปัญหาระยะยาวกับการส่งออกข้าวไทย คือ ข้าวนุ่มที่กำลังเป็นที่นิยม แต่ไทยผลิตได้น้อย”
ที่มา : matichonelibrary.com
 
กัมพูชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร (The Minister of Agriculture) ระบุว่า การส่งออกข้าวในปีนี้คาดว่าจะสูงถึง 1 ล้านตัน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้เมื่อ 5 ปีก่อน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ส่งออกข้าวกลับเห็นว่า กัมพูชาอาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายนั้น
นาย Veng Sakhon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง มองในแง่บวกว่าการส่งออกข้าวของกัมพูชาจะถึงจุดสำคัญ เนื่องจากความต้องการข้าวที่เพิ่มขึ้นจากตลาดต่างประเทศในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เพราะในช่วงไตรมาสแรกกัมพูชาส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยกัมพูชาตั้งเป้าที่จะส่งออกข้าวให้ได้ถึง 1 ล้านตัน ตั้งแต่ ปี 2558 ที่ผ่านมา
ทางด้านนาย Lun Yeng เลขาธิการสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Secretary-General of Cambodia Rice Federation; CRF) ระบุว่า การจะบรรลุเป้าส่งออกได้ 1 ล้านตัน คาดว่าอาจจะต้องรอไปจนถึง ปี 2563 เนื่องจากกัมพูชาจะต้องใช้เวลาในการทำตลาดส่งออก เพราะตลาดหลัก เช่น สหภาพยุโรปเริ่มถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ขณะที่ตลาดจีนและตลาดอื่นๆ กำลังอยู่ในช่วงเติบโต โดยคาดว่าปีนี้กัมพูชาจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 800,000 ตัน
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ปริมาณส่งออกข้าวต่อสัปดาห์ของกัมพูชาเฉลี่ยประมาณ 10,000 ตัน โดย
เมื่อปีที่ผ่านมาการส่งออกข้าวทำได้เพียงเดือนละประมาณ 20,000 ตัน แต่ขณะนี้สามารถส่งออกได้เดือนละอย่างน้อย 50,000 ตัน โดยตลาดสำคัญยังคงเป็นสหภาพยุโรป และจีน
สำนักข่าว the Khmer Times รายงานว่า กัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกไปยังประเทศเวียดนาม ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-9 มิถุนายนที่ผ่านมา จำนวนประมาณ 921,047 ตัน โดยข้าวเปลือกส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปจากจังหวัด Kandal, Prey Veng, Svay Rieng, Takeo, Battambang และ Kampot ซึ่งติดกับแนวชายแดนเวียดนาม
กระทรวงเกษตร ระบุว่า กัมพูชาผลิตข้าวเปลือกได้ประมาณ 10.88 ล้านตัน ในปี 2562/63 โดยมีผลผลิต ส่วนเกินประมาณ 5.76 ล้านตัน ที่สามารถส่งออกได้
ทั้งนี้ ข้าวเปลือกส่วนใหญ่ที่ส่งออกไปยังเวียดนามเป็นข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพาะปลูกเพียง 3 เดือนเท่านั้น ซึ่งตามปกติแล้วกระทรวงเกษตรจะไม่สนับสนุนให้เกษตรกรส่งออกข้าวอายุสั้น แต่ที่ต้องอนุญาตเพราะต้องการช่วยให้พวกเขามีรายได้และเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
การส่งข้าวเปลือกไปยังเวียดนามผ่านชายแดนนั้น มีราคาถูกกว่าการขายให้กับพ่อค้าท้องถิ่น เนื่องจากพ่อค้า มักจะอยู่ในพื้นที่จังหวัดเหล่านั้น ซึ่งราคาที่เสนอโดยผู้ค้าในท้องถิ่นและผู้ค้าเวียดนามเกือบเท่ากัน
สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodian Rice Federation; CRF) รายงานราคาส่งออกข้าวประจำวันที่ 12 มิถุนายน 2563 โดยข้าวหอม Jasmine (Malys Angkor) ชนิด 5% ราคาตันละ 920 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ลดลงจากตันละ 930 ดอลลาร์สหรัฐฯ ของวันที่ 5 มิถุนายน 2563) ข้าวหอม Jasmine (Malys Angkor) ชนิด 10% ราคาตันละ 860 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปลายข้าวหอม Jasmine (Malys Angkor) A1 Super ราคาตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ และปลายข้าวหอม Jasmine (Malys Angkor) A1 Extra ราคาตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวหอม Fragrant Rice (Sen Kra Ob - SKO) ชนิด 5% ราคาตันละ 830 ดอลลาร์หรัฐฯ (ลดลงจากตันละ 850 ดอลลาร์สหรัฐฯ ของวันที่ 5 มิถุนายน 2563)
ข้าวขาว (White Rice Premium / Soft cooking) ชนิด 5% ราคาตันละ 545 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ลดลงจากตันละ 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ ของวันที่ 5 มิถุนายน 2563) ข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) ชนิด 5% ราคาทรงตัวที่ตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ และข้าวนึ่งอินทรีย์ (Organic Parboiled Rice) ชนิด 5% ราคาทรงตัวที่ตันละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวหอมอินทรีย์ (Organic Jasmine - Malys Angkor) ชนิด 5% ราคาทรงตัวที่ตันละ 1,400 ดอลลาร์สหรัฐฯ และข้าวกล้องหอมอินทรีย์ (Organic Brown Jasmine – Premium quality) ราคาทรงตัวที่ตันละ 1,370 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่เว็บไซต์ Mekong Oryza รายงานราคาข้าวของกัมพูชาระหว่างวันที่ 8-21 มิถุนายน 2563 โดย
ข้าวหอมเกรดพรีเมี่ยม 5% (Premium Jasmine Rice (Rumduol) Purity >90% Wet Season) ราคาตันละ 870 ดอลลาร์สหรัฐฯ เอฟโอบี (Phnom Penh or Sihanouk Ville Port (Min Order 10 Containers)) ข้าวหอมเกรด
พรีเมี่ยม 10% (Premium Jasmine Rice (Rumduol) Purity >90% Wet Season) ราคาตันละ 865 ดอลลาร์สหรัฐฯ เอฟโอบี ข้าวหอม 5% (Jasmine Rice (Rumduol) Purity >85% Wet Season) ราคาตันละ 860 ดอลลาร์สหรัฐฯ เอฟโอบี ข้าวหอม 10% (Jasmine Rice (Rumduol) Purity >85% Wet Season) ราคาตันละ 855 ดอลลาร์ สหรัฐฯ เอฟโอบี ข้าวหอม Sen Kra Ob 5% (Fragrant Rice (Sen Kra Ob) Purity >85% Dry Season) ราคาตันละ 760 ดอลลาร์สหรัฐฯ เอฟโอบี และข้าวหอม Sen Kra Ob 10% (Fragrant Rice (Sen Kra Ob) Purity >85% Dry Season) ราคาตันละ 755 ดอลลาร์สหรัฐฯ เอฟโอบี ขณะที่ข้าวขาวเมล็ดยาว 5% ราคาตันละ 590 ดอลลาร์สหรัฐฯ เอฟโอบี และข้าวขาวเมล็ดยาว 10% ราคาตันละ 585 ดอลลาร์สหรัฐฯ เอฟโอบี
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
จีน
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง รายงานว่า เทศบาลนครหนานหนิงเร่งติดตามความคืบหน้าโครงการ นิคมโลจิสติกส์ธัญพืชจีน-อาเซียน หลังจากต้องหยุดชะงักเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจ คือ การเป็นแพลตฟอร์มเปิดให้ข้าวจากอาเซียนใช้ขยายตลาดในมณฑลและกระจายไปยังมณฑลอื่น
ทั่วประเทศจีน
ที่ผ่านมา นครหนานหนิงหรือเมืองอื่นๆ ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ยังไม่เคยมีตลาดซื้อขายขนาดใหญ่
ในกลุ่มสินค้าธัญพืช นิคมแห่งนี้ได้รับการจัดตำแหน่ง (positioning) ให้เป็นตลาดซื้อขายเฉพาะกลุ่มสินค้าธัญพืช ครอบคลุมกลุ่มสินค้าข้าวเปลือก ถั่ว และมันสำปะหลังที่ยังไม่แปรรูป รวมถึงข้าว ธัญพืช (grain) น้ำมัน และอาหาร
ที่แปรรูปแล้ว เป็นศูนย์โลจิสติกส์ธัญพืชขนาดใหญ่ที่ทันสมัย เป็นสากล และเป็นตลาดกลางการนำเข้าธัญพืชจากอาเซียนเข้าสู่ประเทศจีน
นิคมแห่งนี้ มีบทบาทด้านการขายส่ง การจัดแสดงและขายตรง การตรวจสอบคุณภาพ การขนส่งและโลจิสติกส์โกดังเย็น อีคอมเมิร์ซ บริการทางการเงิน และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ โดยคาดว่านิคมแห่งนี้จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาของภาคธุรกิจธัญพืชในมณฑลและต่อยอดไปทั้งประเทศ รวมทั้งอาศัยอาเซียนเป็นจุดขาย โดยเป็นช่องทางการ
นำเข้า-ส่งออกธัญพืชระหว่างจีนกับอาเซียน และดึงดูดให้วิสาหกิจด้านธัญพืชของจีนและต่างประเทศเข้ามาลงทุนในนิคมแห่งนี้
ตามรายงาน โครงการเฟสแรกมีมูลค่า (ตามสัญญา) ประมาณ 213.55 ล้านหยวน ใช้เวลาก่อสร้าง 692 วัน
มีพื้นที่สิ่งปลูกสร้างมากกว่า 96,000 ตารางเมตร ซึ่งนิคมดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ผู้ส่งออกข้าวไทยสามารถใช้เป็นแพลตฟอร์มในการกระจายสินค้าเข้าสู่จีน
ปัจจุบัน เขตฯ กว่างซีจ้วงมีด่านที่ได้รับการอนุมัตินำเข้าธัญพืช (รวมถึงข้าว) หลายแห่ง อาทิ ด่านท่าเรือชินโจว (มีเส้นทางเดินเรือกับท่าเรือแหลมฉบัง) ด่านท่าเรือฝางเฉิงก่าง ด่านท่าเรือเป๋ยไห่ ด่านท่าเรือแม่น้ำอู๋โจว (ล่องถึง
ปากแม่น้ำเพิร์ล มณฑลกวางตุ้ง) รวมถึงด่านทางบกติดประเทศเวียดนาม เช่น ด่านโหย่วอี้กวาน ด่านสุยโข่ว และด่านหลงปัง
นอกจากนี้ ผู้ส่งออกต้องศึกษาโควตาการนำเข้าข้าวของประเทศจีน ซึ่งคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) จะกำหนดโควตาการนำเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปีทั้งปริมาณการนำเข้าและบัญชีรายชื่อ
ผู้นำเข้าที่ได้รับอนุมัติ
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.90 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.79 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.88 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.81 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  9.11 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.01 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.64 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.54 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 300.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,248 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 293.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,116 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 132 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2563/64 มีปริมาณ 1,163.51 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,120.72 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 3.82 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ อาร์เจนตินา เวียดนาม แคนาดา เกาหลีใต้ และไนจีเรีย มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นสำหรับการค้าของโลกมี 182.89 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 174.92 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 4.56 โดยสหรัฐอเมริกา บราซิล ยูเครน รัสเซีย เซอร์เบีย และเมียนมาร์ ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เม็กซิโก เกาหลีใต้ เวียดนาม อียิปต์ อิหร่าน โคลอมเบีย แอลจีเรีย ไต้หวัน เปรู ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย โมร็อกโก ชิลี อิสราเอล บราซิล โดมินิกัน กัวเตมาลา เคนยา ตูนิเซีย และจอร์แดน มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 329.88 เซนต์ (4,059 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 329.60 เซนต์ (4,085 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 26 บาท




 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.74 ล้านไร่ ผลผลิต 28.531 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.27 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83 แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 8.20 และร้อยละ 8.95 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.60 ล้านตัน (ร้อยละ 2.03 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 19.02 ล้านตัน (ร้อยละ 64.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง และหัวมันสำปะหลังมีเชื้อแป้งต่ำ เนื่องจากมีฝนตกชุกและเป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังหยุดดำเดินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.62 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.64 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.22
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.03 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.99
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.13 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 220 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,782 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (6,831 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,040 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,133 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.562 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.281 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.666 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.300 ล้านตัน ของเดือนพฤษภาคม คิดเป็นร้อยละ 6.24 และร้อยละ.6.33 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.21 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 3.13 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.56                      
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 21.98 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 21.78 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.92
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาอ้างอิงเดือน กันยายน ตลาดเบอร์ซามาเลเซีย ลดลง 0.1 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 2,358 ริงกิต หลังจากมีข้อกังวลเรื่องการระบาดโควิด-19 ในจีน และผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดมากขึ้น MPOB ตั้งเป้าชาวสวนปาล์มน้ำมันรายย่อยทั้งหมดให้ได้รับมาตรฐาน MSPO ภายในปี 2563 ซึ่งขณะนี้ได้รับมาตรฐานเพียงร้อยละ 24.08
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,448.53 ดอลลาร์มาเลเซีย (18.07 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,407.26 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.71      
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 590.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18.44 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 585.83 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18.44 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.71
หมายเหตุ :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

        1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ    
         
           ไม่มีรายงาน

 
        2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
          คาดการณ์ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลของบราซิล

         Unica คาดการณ์ผลผลิตทางภาคกลาง-ใต้ของบราซิล ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ในช่วงครึ่งหลังเดือนพฤษภาคม มีผลผลิตอ้อย 42.21 ล้านตัน ลดลงจาก 44.31 ล้านตัน ในปี 2562/2563 ร้อยละ 4.74 ผลผลิตน้ำตาล 2.55 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.87 ล้านตัน ในปี 2562/2563 ร้อยละ 36.36

        

 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 870.30 เซนต์ (9.99 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 865.36 เซนต์ (10.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.57
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 288.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 288.62 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.08
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.88 เซนต์ (19.20 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 27.99 เซนต์ (19.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.39


 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด

 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.25 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 20.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 16.25
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน  
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,039.00  ดอลลาร์สหรัฐ (32.03 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,031.00  ดอลลาร์สหรัฐ (32.01 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 973.60  ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 966.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,039.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.03 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,031.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.01 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 581.40 ดอลลาร์สหรัฐ (17.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 577.20 ดอลลาร์สหรัฐ (17.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.73 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาทเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,326.40 ดอลลาร์สหรัฐ (40.89 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,316.20 ดอลลาร์สหรัฐ (40.87 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.85 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.85 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 60.45 เซนต์(กิโลกรัมละ 41.65 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 60.73 เซนต์ (กิโลกรัมละ 42.14 บาท)
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.49 บาท)

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,809 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,805 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.22
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,502 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,508 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.40
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 867 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดสุกร ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดในภาวะปกติ ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  67.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.15 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.81 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.47 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,300 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 2,200 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.76


ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อเริ่มมีมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างคึกคักและคล่องตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.63 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.60 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ค่อนข้างเงียบเหงา ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ในท้องตลาดยังคงมีมากและสะสม เพราะตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษายังปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 269 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 271 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 308 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 279 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 255 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 295 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   


ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 352 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 353 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 370 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 320 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 374 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   


โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 90.27 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.98 บาท และภาคใต้ ไม่มีรายงานราคา


กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 70.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.43 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


ตารางปศุสัตว์ ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 12 – 18 มิถุนายน 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.78 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.57 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.68 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 142.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.16 บาท
  สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 156.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 151.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.75 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.36 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 69.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.98 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.91 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.77 บาท              
  สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา